ปฏิทินการศึกษา
March 2024
S M T W T F S
25 26 27 28 29 1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
31 1 2 3 4 5 6

Who's Online
เรามี 16 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
Statistics
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 363396
Home งานวิจัย งานวิจัย
งานวิจัย


เอกสารประกอบการสอนวิชาบัญชีฟาร์ม พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันอังคารที่ 19 มีนาคม 2013 เวลา 10:06 น.

เอกสารประกอบการสอน วิชาบัญชีฟาร์ม รหัสวิชา 3506-2107 ผลงานของนางสาวศุภมาส ขจรมา ครู วิทยฐานะชำนาญการ

 
งานวิจัย วษท. สพ. พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันพฤหัสบดีที่ 09 กุมภาพันธ์ 2012 เวลา 11:30 น.

งานวิจัยของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี

การใช้อาหารสูตรต่างกันผสมจุลินทรีย์อีเอ็มในการเพาะเลี้ยงไรแดง (Using of Mixed Feed of EM for Culturing Water Flea)

- ภาพลักษณ์ของสถานศึกษาที่มีผลต่อการสมัครเข้าศึกษาของนักศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี รายละเอียดคลิก

- ความพึงพอใจในการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษอินเตอร์เน็ต ระดับชั้น ปวช. 2 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 รายละเอียดคลิก

- การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อโปรแกรม Microsoft Excel ในการแก้ไขปัญหาการปิดบัญชีให้ถูกต้องตามรูปแบบและวิธีการปิดบัญชี วิชาบัญชีเบื้องต้น 1 รายละเอียดคลิก

- การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องตีเส้นสนามฟุตบอล รายละเอียดคลิก

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2012 เวลา 09:06 น.
 
ภาพลักษณ์ของสถานศึกษาที่มีผลต่อการสมัครเข้าศึกษาของนักศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ครูสุรเชษฐ์ แก้วปาน   
วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2010 เวลา 16:24 น.

บทคัดย่อ

การวิจัยภาพลักษณ์ของสถานศึกษาที่มีผลต่อการสมัครเข้าศึกษาของนักศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี ดำเนินการระหว่างภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี วัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อวิจัยภาพลักษณ์ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี ที่นักศึกษาใหม่ ใช้เป็นเหตุผลประกอบการสมัครเข้าศึกษา  เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง พัฒนาภาพลักษณ์ของวิทยาลัย ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และชุมชน เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มจำนวนนักเรียนนักศึกษา สนองนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยศึกษาจากมูลพื้นฐานของนักศึกษา ภาพลักษณ์ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรีที่ปรากฏแก่สาธารณะ ซึ่งนักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2551 นำมาใช้เป็นเหตุผลประกอบการสมัครเข้าศึกษา  ประชากรในการศึกษาวิจัยได้แก่นักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2551 จำนวน 203 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป spss for window

ผลจากการวิจัย พบว่า นักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2551 ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี ร้อยละ61 เป็นนักศึกษาชาย ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี มีมารดาเป็นผู้ปกครอง ส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก สถานะภาพของครอบครัวนักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2551 ส่วนใหญ่มีบิดามารดาอยู่ด้วยกัน(ร้อยละ 71.41) สถานศึกษาเดิมของนักศึกษา มาจากโรงเรียนมัธยมศึกษามากที่สุด (ร้อยละ 55.70) ประเภทวิชาที่สมัครเข้าเรียนมากที่สุดได้แก่ประเภทวิชาเกษตรกรรม (ร้อยละ 83.70 ) ด้านความคาดหวังว่าหลังสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรพบว่า นักศึกษาใหม่ ร้อยละ 50.70 ต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นส่วนทิศทางการรับทราบข้อมูล ได้มาจากการแนะแนวของวิทยาลัยมากที่สุด (31.50%) โดยแหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร ร้อยละ 59.61ได้มาจากแหล่งเดียว

จากการวิจัยภาพลักษณ์ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรีที่นักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2551 ใช้เป็นเหตุผลประกอบการสมัครเข้าศึกษา พบว่า   จากภาพลักษณ์ของวิทยาลัยฯที่ใช้เป็นประเด็นคำถามการวิจัยรวมทั้งสิ้น 18 ประเด็น นักศึกษาใหม่ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี ปีการศึกษา2551  ให้ความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก  ผลจากการวิจัยภาพลักษณ์ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรีที่ปรากฏแก่สาธารณะทั้ง 3 ด้านพบว่า ภาพลักษณ์ ด้านวิชาการ และภาพลักษณ์ด้านการจัดสวัสดิการ การเรียน นักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2551 ให้ความเห็นว่าใช้เป็นเหตุผลประกอบในการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับมากที่สุด ส่วนภาพลักษณ์ ด้านความเชื่อมั่นและศรัทธาที่มีต่อ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี นักศึกษาใหม่ปีการศึกษา 2551 ให้ความคิดเห็นว่านำมาใช้เป็นเหตุผลประกอบการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับมาก

ด้านข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบสอบถาม ได้แก่ วิทยาลัยฯ ควรเพิ่มรูปแบบของการประชาสัมพันธ์  ช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับวิทยาลัย ฯ รวมทั้งการเพิ่มมาตรการในการให้บริการข้อมูลข่าวสารของวิทยาลัยฯ ให้มากขึ้น


download

ผู้วิจัย : รองผู้อำนวยการสุธี  โรจน์บุญถึง

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2010 เวลา 16:57 น.
 
ความพึงพอใจในการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษอินเตอร์เน็ต ระดับชั้น ปวช. 2 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ครูสุรเชษฐ์ แก้วปาน   
วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2010 เวลา 16:20 น.

ความเป็นมาของการวิจัย

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พุทธศักราช 2546) กำหนดให้นักเรียนลงทะเบียนเรียนหมวดวิชาสามัญพื้นฐานวิชาชีพกลุ่มวิชาภาษาไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต (สำนักงานมาตรฐานอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. 2546) ซึ่งนักเรียนระดับชั้น ปวช. 2 เรียนวิชาภาษาอังกฤษอินเตอร์เน็ต (2000-1233) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โดยมีจุดประสงค์ให้นักเรียน มีทักษะทางเทคโนโลยีพื้นฐานในการสืบค้นหาข่าวสารทั่วไป ข้อมูลทางวิชาชีพจากอินเตอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และเห็นคุณค่าในการแสวงหาความรู้ด้านภาษาอังกฤษจากเว็บไซท์ต่าง ๆ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาความพึงพอใจในการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษอินเตอร์เน็ต ระดับชั้น ปวช. 2  ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 และนำผลการศึกษาไปพัฒนาแผนการสอนวิชาภาษาอังกฤษอินเตอร์เน็ตให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อไป

วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย

เพื่อให้นักเรียนมีทักษะทางเทคโนโลยีพื้นฐานในการสืบค้นหาข่าวสารทั่วไป ข้อมูลทางวิชาชีพจากอินเตอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และเห็นคุณค่าในการแสวงหาความรู้ด้านภาษาอังกฤษจากเว็บไซท์ต่าง ๆ


ผู้วิจัย : ครูวนิดา  แอนนัส

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2010 เวลา 16:45 น.
 
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อโปรแกรม Microsoft Excel ในการแก้ไขปัญหาการปิดบัญชีให้ถูกต้องตามรูปแบบและวิธีการปิดบัญชี วิชาบัญชีเบื้องต้น 1 พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ครูสุรเชษฐ์ แก้วปาน   
วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2010 เวลา 16:14 น.

บทคัดย่อ

การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อโปรแกรม Microsoft Excel    ในการแก้ไขปัญหา    การปิดบัญชีให้ถูกต้องตามรูปแบบและวิธีการปิดบัญชี วิชาบัญชีเบื้องต้น 1 ของ นักศึกษาระดับชั้น ปวส. 1  สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อโปรแกรม Microsoft Excel  ในการแก้ไขปัญหาการปิดบัญชีให้ถูกต้องตามรูปแบบและวิธีการปิดบัญชี วิชาบัญชีเบื้องต้น 1   และทราบผลการเรียนรู้จากการใช้ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อโปรแกรม Microsoft Excel ในการแก้ไขปัญหาการปิดบัญชีให้ถูกต้องตามรูปแบบและวิธีการปิดบัญชี วิชาบัญชีเบื้องต้น 1 การวิจัยดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2548

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัย-เกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการปิดบัญชี วิชาบัญชีเบื้องต้น 1 จำนวน 1 แผน ดำเนินการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อโปรแกรม Microsoft Excel เรื่องการปิดบัญชี วิชาบัญชีเบื้องต้น 1 ให้สมบูรณ์เพื่อดำเนินการวิจัยโดยศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานรายวิชา คำอธิบายรายวิชา กำหนดส่วนประกอบ ขั้นตอนกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน กำหนดการวัดผลประเมินผล ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์(IOC)   และแบบทดสอบปฏิบัติเรื่องการปิดบัญชี วิชาบัญชีเบื้องต้น 1 ดำเนินการโดยศึกษาวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ออกข้อสอบให้ครอบคลุมในเนื้อหาแต่ละเรื่องโดยวัดความสามารถนักศึกษา การปฏิบัติงานของนักศึกษา ขอคำแนะนำเบื้องต้นจากผู้เชี่ยวชาญ พิจารณาประเมินความตรงเชิงเนื้อหา ตามดัชนีความสอดคล้องระหว่างประเด็นคำถามกับวัตถุประสงค์(IOC) เพื่อนำข้อสอบมาเก็บข้อมูล โดยสรุปเป็นคะแนนเปรียบเทียบร้อยละ นำเสนอโดยความเรียงประกอบตาราง

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อโปรแกรม Microsoft Excel เรื่องการปิดบัญชี วิชาบัญชีเบื้องต้น 1 นักศึกษาสามารถทำแบบทดสอบปฏิบัติผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ทุกคน  และสามารถแก้ไขปัญหาการปิดบัญชีให้ถูกต้องตามรูปแบบและวิธีการปิดบัญชี วิชาบัญชีเบื้องต้น 1 ได้

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ


ผู้วิจัย : ครูอรวรรณ  รุ่งเรืองด้วยบุญ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2010 เวลา 10:26 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 4 จาก 5